#delvento ตอน 215 : http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/223
...
ในคอมเมนต์นักเขียนพูดถึงเรื่องภาษีผ้าอนามัยในหมวดเครื่องสำอางอาจสูงถึง 30% แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่พอจึงขออธิบายเพิ่ม รวมถึงนำคำชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาลงด้วย
ประเด็นผ้าอนามัยแบบสอดในประเทศไทยเป็นปัญหามาพักใหญ่แล้ว
ในบางประเทศผ้าอนามัยแบบสอดจัดเข้าหมวดเครื่องมือทางการแพทย์
เนื่องจาก พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ระบุผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายภายนอกเช่น ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด อบ เพื่อความสะอาด สวยงาม หรือส่งเสริมความสวยงาม การออกพรบ. เครื่องสำอางก็เพื่อควบคุมส่วนผสมในการผลิตไม่ให้มีผลร้ายต่อร่างกาย และเครื่องสำอางทุกชนิดถือเป็นสินค้าควบคุมที่ต้องขึ้นทะเบียนและตรวจสอบตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข
ผ้าอนามัยแบบแผ่นก็ถูกจัดในประเภทเครื่องสำอางนี้ด้วย
แต่ผ้าอนามัยแบบสอดมันไม่ได้ใช้กับร่างกายภายนอกจึงเกิดปัญหาขึ้นว่าจะจัดเข้ากลุ่มเครื่องสำอางได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันผ้าอนามัยแบบสอดก็ได้ถูกจัดเข้ากลุ่มเครื่องสำอางเรียบร้อยแล้ว
แต่ที่เรารู้กันว่าเครื่องสำอางจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่สามารถเจอภาษีได้สูงถึง 30% จึงทำให้กระแสต่อต้านว่าทำไมไม่จัดผ้าอนามัยไปอยู่ในสินค้ากลุ่มอื่นที่ไม่เสียงจะเจอภาษีสูง ยิ่งไปกว่านั้นคือทำไมไม่ประกาศยกเลิกภาษีผ้าอนามัยไปเลย
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข และรักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้การอธิบายเหตุผลการจัดเข้ากลุ่มเครื่องสำอางเนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องใช้กับภายในร่ายกาย เพื่อความปลอดภัยและสามารถกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานปลอดภัย การควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ต้องมีการแจ้งเตือนที่ฉลากเพื่อให้ผู้ใช้ศึกษาผลิตภัณฑ์ก่อนใช้ และอธิบายเพิ่มอีกว่า ผ้าอนามัยจัดเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นรายการสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย มีเพียงการจับเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ผ้าอนามัย เป็นหนึ่งในรายการสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ ไม่มีการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย หรือร้อยละ 30 ภาษีผ้าอนามัยจึงจะถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามราคาของสินค้าเหมือนสินค้าชนิดอื่น ๆ
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายเพิ่มอัตราภาษีสินค้าผ้าอนามัยแบบสอด แต่หากมีการนำเข้า โดยใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ก็จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า
ด้านนายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต ยืนยันว่า ผ้าอนามัยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เท่านั้น ไม่ได้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นสินค้าที่มีความจำเป็นที่ผู้หญิงต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
ถึงจะมีการอธิบายจากผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 คน แต่ก็ยังเกิดคำถามว่าทำไมถึงไม่จัดผ้าอนามัยทั้งหมดเข้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ ซึ่งกลุ่มเครื่องมือแพทย์เช่น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ สามารถยกเว้นกระทั่ง VAT 7% ได้ ซึ่งจะทำให้ผ้าอนามัยถูกลงกว่าปัจจุบันอีก
การเอาเข้ากลุ่มเครื่องสำอางมันก็แสดงถึงว่า "มันยังไม่มีความจำเป็นที่มากพอสำหรับร่างกายสตรี" นั่นเอง
ในขณะที่ต่างประเทศเช่น สกอตแลนด์กลับผ่านร่างกฎหมายผ้าอนามัยฟรีสำหรับประชาชนแล้ว
อ้างอิง
https://news.thaipbs.or.th/content/306341
https://news.thaipbs.or.th/content/289372
ปล. แอดมินลืมจด link อ้างอิงอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น