วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปกตอน 89


ตอน 80: http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/87
เปิดใช้ pass ได้แล้วนะคะ
...
เฟซฯ หน่วงๆ ช้ามาก แฟนเพจเป็นกันมั้ยคะ กดเข้ามารอโหลดนานมากๆ ทั้งที่เป็น PC นะ 

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตารางทำงานของนักเขียน



ลงไว้ที่ทวิตแล้วลืมเอามาลงที่เฟซฯ

#วันๆนักเขียนทำอะไร ทั้งแมวน้ำกับกระเบนประมาณนี้เลยค่ะ ่ช่วงตารางเวลาทำงานก็มีแว้บอู้นะ แต่ประชุมนี่ทั้งวันทุกวันนั่งคุยจะเขียนอะไร หายใจเข้าเฮีย หายใจออกเฮีย ๆ ๆ 

ถ้าสัปดาห์ไหนมีเหตุต้องออกจากบ้าน 2 วัน สัปดาห์ปั่นไม่ทันเดทไลน์ (อย่างสัปดาห์นี้เป็นต้น) 

เครดิต
https://www.facebook.com/MachoWriting
https://twitter.com/macholu

coke plus coffee


วันนี้ไม่อัพนะคะ รอพรุ่งนี้เที่ยงๆ นะคะ

ปล. แอดมินไปเจอ coke plus coffee ใน 7-11 ให้ความรู้สึกเหมือนอมโคปิโกแล้วดูดโค้ก ฮา... ชอบโค้กวนิลามากกว่าเหมือนเดิม

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

[Fan Art] Now and Then

"Now and Then" คลิปโปรโมตการท่องเที่ยวลาสเวกัสของ https://www.visitlasvegas.com/ แค่ 3 นาทีกว่าแต่สร้างเรื่องราวได้ดีกว่าหนังเลสฯ หลายเรื่อง ดูแล้วพูดได้คำเดียวว่า "Let's get married! " (ฮา...)
ใครสนใจไปชมที่



https://www.youtube.com/watch?v=M9XXgnktlj4

ดูวิดีโอโปรโมตการท่องเที่ยวลาสเวกัสแล้วอยากทำบ้าง

#letsgetmarried แต่งงานกันเถอะ >///////<



ปล. สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร ใครเชียร์ไปรมาหรืออแมนด้าเรื่องยังไม่จบอย่าเพิ่งฟันธงว่าใครนางเอก หึหึ...

- เพิ่ม -


กรี๊ด... นักแสดงคนขวาชุดแดงมาเจอรูปแล้วบอกว่าชอบ ดีใจมากค่ะที่ชอบ ตอนแรกนึกว่าเคาะมาจะให้เอาออกหรือเปล่า มีความสุขเลยค่ะ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปกตอน 88


#delvento : http://www.comico.in.th/titles/130

ตอน 88 : http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/94

ตอน 79: http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/86
เปิดใช้ pass ได้แล้วนะคะ

...
เหมือนเมาๆ นับตอนพลาดไปหลายรูป

ตอน 88 รอสักเที่ยงๆ นะคะ แอดมินส่งไปเรียบร้อยแล้วรออัพโหลดเข้าระบบอยู่ค่ะ

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Feminism ไม่ใช่ปีศาจร้ายและก็ไม่ใช่เลสเบี้ยนด้วย


Feminism มีหลายกลุ่ม หลายแนวทางในการเคลื่อนไหว แต่ความรู้สำหรับคนทั่วไปมองเห็นแต่ภาพของนางมารร้าย ยัยตัวแสบ ตัวก่อปัญหา ซึ่งจริงๆ แล้ว เฟมินิสต์ต้องการแค่ "สิทธิ์ที่ผู้หญิงควรจะได้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น"

ผู้เขียนเคยเจอรุ่นน้องคนหนึ่งบอกว่าตัวเองเป็นเฟมินิสต์ ผู้เขียนจึงแกล้งถามไปว่า "ได้ยินว่าพวกเฟมินิสต์เป็นพวกเกลียดผู้ชายใช่มั้ย" โดยคาดหวังคำตอบทำนอง "ไม่ เฟมินิสต์คือแนวคิดที่เน้นความเท่าเทียมกันระหว่างทั้งหญิงและชาย" หรือ "ไม่ เฟมินิสต์คือแนวคิดที่ต้องการปลดแอกผู้หญิงจากกรอบที่ถูกสร้างจากระบอบปิตาธิปไตย" แต่เธอกลับตอบว่า "ไม่ ฉันยังชอบผู้ชายอยู่" ทำเอาผิดหวังเล็กๆ เพราะนั่นคือแม้แต่ตัวเธอเองก็ยังคิดว่าเฟมินิสต์คือพวกเกลียดผู้ชายหรือเลสเบี้ยน ไม่แตกต่างจากคนภายนอกที่ไม่เข้าใจเฟมินิสต์แล้ววาดภาพเฟมินิสต์เป็นปีศาจร้ายเลย

ผู้เขียนได้พบประเด็นและบทความที่น่าสนเกี่ยวกับสิทธิ์การแสดงออกของผู้หญิงในเกาหลีใต้ ที่ https://kotaku.com/in-south-korea-gamers-stage-an-inquisition-against-fem-1825398846 บทความจริงๆ ยาวมากจึงขอสรุปมาสั้นๆ ซึ่งใครสนใจรายละเอียดทั้งหมดสามารถอ่านได้ในลิงก์

ในเกาหลีใต้มีเว็บไซต์หนึ่งชื่อ Megalia เผยแพร่แนวคิดเฟมินิสต์ การนำเสนอของเว็บไซต์ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงและผู้ที่ต่อต้านอ้างว่าหลายแนวคิดในเว็บไซต์นี้ "ต่อต้านสังคมและสุดโต่ง" (เท่าที่ผู้เขียนทราบเว็บไซต์นี้ปัจจุบันโดนปิดไปแล้ว) การต่อต้านไม่ได้ยุติที่เว็บไซต์ Megalia ถูกปิดหรือต่อต้านกลุ่มคนที่แสดงความคิดเห็นให้ผู้หญิงขึ้นมามีบทบาทแถวหน้า แต่การต่อต้านลามไปถึงเรื่องอื่นๆ และการล่าแม่มดในสังคมเกาหลีใต้ ถึงกับเป็นกระแส "แอนตี้เฟมินิสต์"

กระแส "แอนนี้เฟมินิสต์" นี้กลายเป็นประเด็นที่เห็นชัดมากขึ้นในวงการของเกาหลีใต้ โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2016 มีเกมเมอร์พบว่านักพากย์สาวชื่อ Jayeon Kim มีเสื้อที่สกรีน “Girls Do Not Need A Prince.” (เด็กสาวไม่ต้องการเจ้าชาย) ซึ่งเสื้อดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Megalia จึงเกิดกระแสความไม่พอใจผลก็คือทาง Nexon ต้นสังกัดไล่นักพากย์คนนี้ออก

หลังจากนั้นก็มีการล่าแม่มดจากเกมเมอร์ที่แอนตี้เฟมินิสต์ ส่งผลให้ผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องในวงการเกม (นักวาด, นักพัฒนา ฯลฯ) ที่ถูกสืบได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ Megalia ไม่ว่าจะแค่ like, share ข้อความที่มีแนวคิดเฟมินิสต์ หรือกระทั่งแค่โพสข้อความที่เหล่าเกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์ลงความเห็นว่า "ต่อต้านสังคมและสุดโต่ง" คนที่โดนข้อหาดังกล่าวจะโดนโจมตีอย่างหนัก ตัวอย่างกรณีเช่น

เกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์กดดันให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเกมปลดนักวาดหญิงค่าย IMC Games ที่ได้ retweet ข้อความที่มีเนื้อหาเฟมินิสต์ออกจน CEO ของ IMC Games ต้องออกมาขอโทษแทนนักวาด

เกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์กดดันให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเกม Girls Frontline ไล่ผู้ออกแบบตัวละคร K7 ออกด้วยข้อหาเคย like และ retweet ข้อความที่เขาไม่พอใจอย่างการล้อเลียนผู้ชายแย่ๆ หรือการแสดงความกลัวกล้องที่ซ่อนตามที่ต่างๆ จากนั้นก็บีบให้ค่ายเกม Kiwiwalks ไล่เพื่อนนักวาดของผู้ออกแบบ K7 ด้วยข้อหาให้กำลังใจเพื่อนและเธอเคย retweet เรื่องสิทธิ์สตรีโดยเฉพาะเรื่องสิทธิ์ในการทำแท้ง

เกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์ไปกด Thumbs-down (โหวตลบ) บนหน้า Steam page ของเกม Replica (เกมที่เขาผลิต) แล้วเขียนคำวิจารณ์ทิ้งไว้ว่า "หมูป่า Megalia เป็นคนสร้างเกมนี้" และ "เฟมินิสต์ตัวเอ้สร้างเกมนี้" เพราะนักพัฒนาเกมชายชื่อ Somi เคย like และ retweet เรื่องเกี่ยวกับเพศศึกษาในโรงเรียนและออฟฟิศ

ผู้พัฒนาเกม SoulWorkers ประกาศเปลี่ยนนักวาดอิสระ 2 คนเพราะถูกเกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์กดดันให้สอบสวนว่านักวาดอิสระ 2 คนนั้นได้ retweet เนื้อหาแนว Megalia หลังประกาศเปลี่ยนผู้พัฒนาเกม SoulWorkers ได้รับของขวัญจากเกมเมอร์แอนตี้เฟมินิสต์และยอดผู้เล่นเพิ่ม 175% ในขณะที่นักวาดอิสระ 2 คนถูกขู่ทำร้าย

ทาง Korean Game Developers Guild (สมาคมผู้พัฒนาเกมเกาหลี) กล่าวว่าปัจจุบันมีผู้หญิงราวๆ 10 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวาดและผู้ชายอีกราวๆ 10 คนที่ถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหานี้

ผู้เขียนคอลัมน์ดังกล่าวได้ถามไปทาง Korean Game Developers Guild เกี่ยวกับเรื่องนี้ ตัวแทนสมาคมฯ ตอบว่าเพราะทั้งผู้เล่นและผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ซึ่งมักสับสนแนวคิดแบบ Megalia เฟมินิสต์กับเฟมินิสต์ทั่วไป จึงเหมารวมว่าเฟมินิสต์ทั้งหมดคือแนวคิดเกลียดผู้ชาย ฉะนั้นการที่ค่ายเกมต่างๆ หันมาร่วมโจมตีเฟมินิสต์จึงเป็นแผนการตลาดที่น่าจะทำกำไรได้ดีกว่าออกมาปกป้องหรือคอยออกมาชี้แจงกับลูกค้า ตัวแทนกล่าวอีกว่า "กลุ่มผู้บริโภคหลักคือผู้ชายวัย 40 ปีและเด็กลงมาบริษัทเกมจึงต้องมองความเป็นจริงตรงนี้ หากคุณดูเสียงตอบรับจากกลุ่มผู้บริโภคก็จะอนุมานได้ว่าพวกเขาเชื่อว่า "ในเมื่อเฟมินิสต์จะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของเรา เราก็ควรลิดรอนสิทธิเสรีภาพของมันก่อน" เป็นการตอบโต้ที่สมเหตุผล"
แม้ในไทยจะยังไม่มีการกดดันแบบนี้ในวงกว้างแต่ส่วนตัวผู้เขียนเองทำงานในวงการมาราวๆ 20 ปีก็ได้เจอกับการกดดันคล้ายๆ แบบนี้ ใครที่ติดตามอ่านงานของผู้เขียนมาจะทราบว่างานของผู้เขียนมักจะใช้ตัวเอกหญิงดำเนินเรื่องและตัวเอกหญิงของผู้เขียนมักถูกออกแบบไม่ให้เป็นผู้หญิงสวยตาม stereotype แต่เป็นผู้หญิงแกร่งที่ทำงานได้เพราะผู้เขียนต่อต้านการวัดคุณค่าของผู้หญิงจากความสวยเพียงอย่างเดียว

ผู้เขียนคิดว่าถึงจุดหนึ่งแม้แต่ผู้ชายเองก็ต้องมีแม่ พี่สาว น้องสาว ญาติผู้หญิง เพื่อนผู้หญิงหรือแม้แต่ลูกสาวที่ตัวเองรัก การส่งเสริมให้สังคมมองผู้หญิงเป็นคนที่มีเลือดเนื้อมีความสามารถเช่นเดียวกับผู้ชายไม่ใช่มองเป็นวัตถุทางเพศที่ต้องทำตัวสวยงามอย่างเดียวจึงน่าจะส่งผลดีต่อสังคมโดยรวมในระยะยาวมากกว่า

เพราะผู้เขียนเขียนงานด้วยแนวคิดเช่นนี้จึงมีนักอ่านหรือนักวาดหลายคนไม่พอใจโจมตีว่าผู้เขียนเป็นเฟมินิสต์ (ในความคิดเขาเฟมินิสต์คงเป็นปีศาจเกลียดผู้ชาย) โจมตีงานผู้เขียนทั้งที่ไม่เคยอ่านจบ โจมตีเรื่องส่วนตัวผู้เขียน ปล่อยข่าวลือจริงบ้างไม่จริงบ้างให้คนที่ไม่รู้จักเกลียดชังผู้เขียน ใช้อีเมลปลอมหรือล็อกอินบอร์ด-เฟซบุ๊กปลอม pm ข้อความด่าทอหยาบคาย ข่มขู่ คุกคาม และกระทั่งส่งรูปถ่ายอวัยวะเพศชายมาหาผู้เขียนเรื่อยๆ

ผู้เขียนเคยนึกทบทวนว่าเป็นความผิดของตัวเองหรือไม่จึงเกิดเรื่องแบบนี้ แต่พอสังเกตดูว่าคนนอกวงการซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักอ่านชายที่มีอายุพอสมควรอ่านงานผู้เขียนแล้วมีผลตอบรับแง่บวกกลับมา ผู้เขียนจึงรู้ว่าปัญหาไม่ได้มาจากตัวผู้เขียนแต่อยู่ที่ตัวผู้รับสารเอง

หากใครติดตามผู้เขียนมาตลอดก็คงจะเคยได้อ่านผ่านตามาแล้วว่าผู้เขียนเคยพูดถึงเรื่อง sexism ในวงการ ถึงตรงนี้ผู้เขียนขอบอกเลยว่า sexism ยังมีอยู่จริงและที่น่าเศร้าคือผู้หญิงด้วยกันเองนี่แหละบางที sexism ยิ่งกว่าผู้ชายเสียอีก แต่ผู้เขียนยังโชคดีที่เหล่า sexist นั้นไม่ส่งผลและกดดันให้ผู้เขียนต้องออกจากงาน

ด้วยเหตุผลทั้งหมดผู้เขียนจึงไม่คาดหวังตั้งแต่แรกว่างานของตัวเองจะดังในวงกว้างหรือถูกการแปลหรือเผยแพร่และได้รับยอมรับตามที่เคยกล่าวไว้ในเฟส แต่หากถามว่าผู้เขียนจะหันไปเขียนงานแนวเอาใจตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกรังแกมั้ยผู้เขียนตอบเลยว่า "ไม่"  เพราะทำแบบนั้นก็เท่ากับยอมแพ้ให้กับพวก sexist และเท่ากับผู้เขียนเป็นได้แค่ "นักการตลาดที่เก่งกาจ" แบบที่ลุง Umberto Eco บอกซึ่งก็คือนักวาดตามสั่งที่ไม่สามารถสื่อแนวคิดหรือสร้างประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้เลย

ก็ได้แต่หวังว่าเมืองไทยคงไม่เกิดกระแสต้านเฟมินิสต์หรือเกลียดชังผู้หญิงแบบต้นเรื่องมิเช่นนั้นบทบาทของผู้หญิงในสื่อหรือในทุกวงการคงถดถอยลงกว่าที่เป็นอยู่


เครดิต
- https://pixabay.com/en/emancipation-feminism-women-rights-155791/
- https://pixabay.com/en/feminist-feminism-woman-s-rights-2923720/
- https://kotaku.com/in-south-korea-gamers-stage-an-inquisition-against-fem-1825398846

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปกตอน 87


ตอน 77: http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/82
เปิดใช้ pass ได้แล้วนะคะ
...
(นี่เป็นโพสล่วงหน้าค่ะ) จับเฮียใส่สูทขาวบ้าง ตอนแอดมินเห็นรอบแรกนึกว่าเจ้าพ่อโคเคนอเมริกาใต้ ฮา...


เหนื่อยนะกับการที่ไม่รู้ว่าทำไมถึงถูกเกลียด มันอาจจะจบที่คำง่ายๆ ว่าริษยา แต่มันเศร้ากับการที่คนเราจะเกลียดใครที่ไม่รู้จักได้มากมายเพียงเพราะริษยา

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

The Sleepers เลสเบี้ยน อนาจาร หรือแท้จริงแล้วแค่ไม่ใช่อุดมคติ


Gustave Courbet, Le Sommeil [The Sleepers],1866.

คนหลับ (The Sleepers) คือผลงานชิ้นหนึ่งของ Gustave Courbet จิตรกรฝรั่งเศสผู้นำศิลปะยุคสัจนิยม (Realism) ในศตวรรษที่ 19 ช่วงที่ศิลปะแนวโรแมนติกกำลังเฟื่องฟู ในภาพแสดงหญิงสาว 2 คนกำลังหลับใหลในท่ากอดก่ายกันหลังมีความสัมพันธ์

ผลงานชิ้นนี้ของเขาถูกแสดงครั้งแรกในปี 1870 และสร้างความสั่นสะเทือนจนมีการเรียกตำรวจเข้ามาในการแสดงภาพข้อหาละเมิดศีลธรรมทำให้ภาพถูกงดแสดงอีกจนกระทั่งปี 1980 แต่จากการแสดงภาพในช่วงสั้นๆ นั้นกลับทรงอิทธิพลต่องานของศิลปินแนวร่วมสมัยหลายคนให้ท้าทายกับข้อห้ามในการแสดงความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยนผ่านทางผลงาน

แต่จุดที่น่าสนใจอยู่ตรงที่การแสดงความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยนนี้กลับไม่ใช่ประเด็นหลัก ในยุคโรแมนติกใช่ว่าภาพที่แสดงความสัมพันธ์เลสเบี้ยนจะไม่มีแต่มักจะแสดงในลักษณะ "ศิลปะตามหลักวิชา" (academic art) คือ แสดงรูปเปลือยของสตรีในแบบงดงามไร้ที่ติ (ซึ่งมักจะออกแนวอุดมคติแบบกรีกโรมันเช่นในภาพ The Birth of Venus ของ Alexandre Cabanel) ในขณะที่ภาพนี้ของ Gustave จะเน้นความสมจริงจนได้รับการติติงอย่างหนักหน่วงจากศิลปินสมัยนั้น ผู้หญิงที่เขาวาดจะเน้นความสมจริงในจุดที่เป็นรายละเอียดอย่างลอนไขมันที่เกิดจากการบิดตัวของผู้หญิงที่นอนเอาขาก่ายอีกฝ่าย จุดที่สมจริงเช่นนี้ทำให้ผู้ชมภาพได้รับรู้ว่าผู้หญิงในภาพคือหญิงสาวที่มีเลือดเนื้อจริงมิใช่นางฟ้านางสวรรค์ในอุดมคติที่คนยุคนั้นนิยม (ภาพที่ได้รับการวิจารณ์แบบถล่มพอๆ กันคือภาพ Olympia ของ Édouard Manet ซึ่งแสดงภาพของโสเภณี)

สรุปได้ว่าปัญหาจริงๆ ของภาพ Le Sommeil นี้ไม่ได้เป็นที่การแสดงความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยนหรืออนาจารแต่เป็นที่การ "บังอาจ" ทำให้ผู้ชมได้รับรู้ว่าหญิง 2 คนในภาพเป็นแค่นางคณิกาที่มีตัวตนจริงในท่าทางที่แสดงความเคลื่อนไหวและมีอำนาจควบคุมกระแสในภาพ หาใช่หญิงในอุดมคติที่มีหน้าที่เป็น "วัตถุ" ให้ผู้ชมเฝ้ามองเพียงอย่างเดียว

ซึ่งถ้าเทียบกับสื่อปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแนวคิดแบบ "academic art" ไม่ได้หายไปเลยแค่เปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น ผู้หญิงในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อบันเทิงส่วนใหญ่ยังถูกเสนอในภาพของอุดมคติ เช่น สวย ผอม ผิวเรียบเนียนไร้สิว ฝ้า กระ แต่งตัวแต่งหน้าทำกิริยาแบบ "ผู้หญิง" เรียกว่าต่อให้มีฉากผู้หญิงวิ่งผ่านระเบิดเธอก็ยัง "ต้อง" สวยและดูเป็นที่ปรารถนาได้อยู่ในขณะที่ผู้ชายสามารถเลือดออก มีแผล สกปรก หน้าบิดเบี้ยวได้ มีน้อยมากที่จะสะท้อนภาพผู้หญิงที่มีเลือดเนื้อในชีวิตประจำวันจริงๆ อย่างผู้หญิงที่ทำงานลุยๆ ผิวหยาบกร้านแต่งกายพื้นๆ ไม่แต่งหน้าหรือสาวออฟฟิศที่ทำงานไปเคร่งเครียดไม่มีเวลาแต่งตัวสวย เราอยู่ในยุคที่ถ้ามีคนบอกว่า "ชอบผู้หญิงไม่แต่งหน้า" แปลว่า "ชอบผู้หญิงที่แต่งหน้าไม่จัด" มากกว่าผู้หญิงที่ไม่แต่งหน้าจริงและผู้หญิงที่ไม่แต่งหน้าจริงจะถูกหาว่า "ขี้เหร่" หรือ "ปล่อยตัว"

จะมีวันที่สังคมจะมองผู้หญิงเป็น "มนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ" หาใช่แค่ "ของสวยงามที่มีไว้เสพ" หรือไม่ผู้เขียนก็ไม่รู้แต่ที่รู้แน่ๆ คือผ่านมากว่าศตวรรษยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงจะผ่านไปอีกศตวรรษก็คงเหมือนเดิม

เครดิต
https://secretlesbians.tumblr.com/post/85340722311/gustave-courbet-le-sommeil1866-le-sommeil-the

ปกตอน 86


#delvento : http://www.comico.in.th/titles/130

ตอน 86 : http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/93

ตอน 76: http://www.comico.in.th/titles/130/chapters/81
เปิดใช้ pass ได้แล้วนะคะ

...
สู้... เพื่อชาบู

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Sarah Marquis ผู้หญิงที่กล้าเดินเท้ามากกว่า 10,000 ไมล์ใน 3 ปี


Sarah Marquis หญิงอายุ 42 ที่เดินทางเป็นระยะกว่า 10000 ไมล์ (16093.44 กิโลเมตร) ด้วยเท้าจากไซบีเรียผ่านทะเลทรายโกบี จีน ลาว ไทย ต่อเรือสินค้าไปยังบริสเบนออสเตรเลียแล้วเดินข้ามทวีปออสเตรเลียต่อ ระหว่างทางเธอเจอกับภัยต่างๆ ทั้งที่เกิดจากสภาพแวดล้อมและเกิดจากตัวเธอเองแต่เธอก็สามารถเอาชนะความกลัวกับขีดจำกัดทางกายภาพพาร่างกายผู้หญิงที่เชื่อกันว่าไม่เหมาะแก่การผจญภัยบรรลุเป้าหมายที่เธอตั้งไว้ได้สำเร็จ

สิ่งที่เธอต้องเจอเหมือนกันในฐานะผู้หญิงที่ท้าทายกับ "ความเป็นผู้หญิง" ที่สังคมตั้งกฏระเบียบจำกัดไว้คือการโดนเหยียดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงานบริษัทรถไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำตามความฝัน แต่ด้วยใจที่เข้มแข็งทำให้เธอมองว่านั่นกลับเป็นโอกาสที่เธอจะได้สร้าง "หนังที่หนาขึ้น" และเรียนรู้ว่าสังคมของผู้ชายเป็นอย่างไร

เครดิต
https://www.nytimes.com/2014/09/28/magazine/the-woman-who-walked-10000-miles-no-exaggeration-in-three-years.html