วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543

[illus from comic] Kritiya Series






ไว้เมื่อก่อนที่สแกนเก็บไว้มีแต่ขนาดเล็ก T.T ต้นฉบับก็ไม่อยู่แล้ว




หากกฎหมายให้ความยุติธรรมไม่ได้ ฉันจะใช้มือข้างนี้หาความยุติธรรมเอง

 แมวน้ำลืมเองตัวไหนพูดหว่า



เอารูปไหนดี รูปนี้ละกัน


ตอนนู้นที่เขียนการจะเป็นผู้หมวดหญิงได้ คือ ต้องสอบเข้าในระดับป.โท เพื่อเข้ารับราชการแบบอาจารย์สอนนายร้อยตำรวจ แต่ตอนนี้มีสอนนายร้อยตำรวจหญิงเต็มรูปแบบแล้วน้อ


แฟน ๆ (คุณพี่เรียกร้อง) แมวน้ำจัดให้ 

คุณพี่เมย์ค่ะ...


รูปสุดท้ายกับคุณพี่สาวเมริสาแล้วจ้า....



ความคิดเห็นของผู้อ่าน

เนื่องจากข้าพเจ้าได้เมล์ติชมเข้ามาเกี่ยวกับเรื่อง Prejudice ส่วนใหญ่จะบอกแค่ว่า "ภาพสวย" (เอ๋..จริงหรือเปล่า แมวน้ำไม่แน่ใจ) ซึ่งจะไม่ค่อย มีคนติชมเรื่องมาเลยและแล้วอีเมล์ฉบับหนึ่ง ก็มาพร้อมกับคำติชมและบทวิเคราะห์เรื่อง ซึ่งแมวน้ำอ่านแล้วรู้สึกดีใจมากๆ เพราะเป็นประโยชน์กับแมวน้ำและเจ๊ธิมากเลยและอยากให้ทุกคนได้อ่านด้วย จึงติดต่อเจ้าของจดหมาย และได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ แมวน้ำขอขอบคุณ คุณอานนท์มากๆเลยนะคะ ในส่วนนี้อาจจะยาวไปนิดแต่เนื่องจากจดหมายทั้งฉบับเป็นเนื้อหาล้วนๆจึงไม่อยากลดทอนใดๆ

".....แรกที่เห็นในไทคอมิคส์ เล่มที่ 15 ก็นึกอุทานในใจดังๆว่า "หืม" แล้วก็คิดระคนแปลกใจนิดๆ ว่า " อืม... มากันถึงนี่เลยแฮะ" แต่ก็ไม่แปลกใจนานสักเท่าไหร่ เพราะก็รู้ว่าการพัฒนานั้นก็ต้องมีเวทีที่กว้างใหญ่ และเปิดกว้างมากพอที่จะสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จาก ผลงานชิ้นนี้นั้น มีการใช้เนื้อหาที่ค่อยๆดึงผู้อ่านให้มีอารมณ์ร่วมไปเป็นขั้นๆ มีทั้งความขัดแย้ง ระหว่างตัวละครและปริศนาที่โยนให้ผู้อ่านต้องเดากันไปต่างๆนาๆ 

...ตอนแรกๆนั้นเนื้อเรื่องจะแสดงให้เห็นความขัดแย้งของตัวละครสมทบจนทำให้ผู้อ่านเกิด ความสงสัย ใคร่รู้ในความสัมพันธ์ของพวกเขา จนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้ตัวเอกต้องตกกระไดพลอยโจนในลักษณะที่ต้องการหาความจริงโดยที่ตนเอง ยังรู้สึกผิด ต่อมาก็ภาพหลอนที่เพื่อนของบีได้เห็นจนกลายเป็นการเสียชีวิต อย่างต่อเนื่อง และเหมือนกับฆาตกรรมปริศนาก็เริ่มสร้างข้อสงสัยมากขึ้น เหตุการณ์นี้ได้สร้างความเครียด และบีบรัดตัวเอก จนกระทั่งหล่อนต้องเผชิญกับเรื่องนี้เหมือนเหยื่อรายก่อนด้วยตัวเอง ในขณะที่ปริศนาฆาตกรรมต่อเนื่องนั้น ก็ยังไม่คลี่คลาย ตรงนี้แหละ ที่ผมคิดว่าเป็นการพัฒนาด้านการดำเนินเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุดจุดหนึ่งในงานชิ้นนี้

เพราะแม้ในตอนแรกจะดูเหมือนกับการ์ตูนแนวสืบสวน แต่ปริศนาที่ซ้อนกันนั้นมีภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกันในลักษณะคนละขั้ว (วิทยาศาสตร์-ไสยศาสตร์) เป็นตัวเร้าให้การดำเนินเรื่องมีความเด่นชัดขึ้นมา การดำเนินเรื่องนั้นใช้พื้นที่การเขียนได้อย่างเหมาะสม ไม่ยืดเยื้อ ไม่โชว์มาก จบแต่ละตอนมีจังหวะจะโทนให้รู้สึกน่าติดตาม

ด้านงานภาพนั้นคงแทบจะไม่ต้องกล่าวอะไรมาก เพราะความเนี้ยบของลายเส้น ความปึ้ก ของฉากและเทคนิคการใช้สกรีนโทนในงานนั้น แสดงให้เราได้เห็นมานานแล้ว

แม้ว่าจะยังมีปัญหาด้าน Perspective เวลาที่เขียนในมุมยากๆ และตอนที่ตัวละครใช้อุปกรณ์ในบางฉากบ้างก็ตาม โดยเฉพาะเรื่อง ซ้าย-ขวา นี่ จะพบว่ามีการสลับด้านอยู่ประปราย มันทำให้รู้สึกแปลกๆนะครับ เรื่องก่อนก็มี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผมว่าถ้า สามารถปรับปรุงตรงเรื่องเล็กๆน้อยๆส่วนนี้ได้ งานของคุณก็จะสมบูรณ์ขึ้นอีกจริงมั้ย..

ที่จะลืมเสียไม่ได้สำหรับเรื่องนี้ เป็นส่วนที่ผมคิดว่าเป็นจุดที่คาใจในเรื่องคือ การเปิดเผยตัว ผู้ที่อยู่เบื้องหลังตอนก่อนจะเข้าสู่จุดไคลแม็กซ์ เหตุการณ์ตอนที่แอนเผยตัวว่าเป็นคนร้ายนั้น มันดูเหมือนว่ายังไม่ใช่จุดที่วิกฤติพอ ที่จะสร้างความเครียดให้กับผู้อ่านจนต้องเอาใจช่วยโดยไม่รู้ตัว อย่างที่บอกไปตอนแรกว่า คุณดำเนินเรื่องแบบสร้างอารมณ์เป็นลำดับขั้นได้ดีแล้ว รวมถึงการจบตอนแต่ละตอนแบบชวนติดตามก็น่าสนใจ แต่สิ่งที่ขาดไปคือ "ความต่อเนื่องใน การลำดับเหตุการณ์"

สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวถึงคือ ความสัมพันธ์ของการดำเนินเรื่องแบบต่อเนื่อง การจบตอนและเริ่มต้นในตอนใหม่ของแต่ละเล่ม เป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินเรื่องให้น่าสนใจ ผมได้แยกความสัมพันธ์ในหัวข้อนี้จากเรื่อง Prejudice ที่มักจะจบตอนในสองลักษณะ คือ

1. ตัวเอก (กฤติ) ผจญกับเหตุการณ์ลึกลับและจบในขณะที่ยังอยู่ในเหตุการณ์นั้น ตอนต่อมา ก็ดำเนินต่อเนื่องจากจากตอนที่แล้วทันที เช่น การต่อเนื่องของตอนที่ 7,8และตอนสุดท้าย

2. ตัวเอกผจญกับเหตุการณ์ลึกลับจนจบตอน ตอนต่อมาตัวเอกพักอยู่ที่บ้านของตน ในเรื่องนี้จะมีการจบตอนและการเริ่มแต่ละตอนใหม่ในลักษณะนี้สลับกันไป แต่ว่าการจบ ในแบบที่สองนั้น ความเครียด (อารมณ์ของเนื้อเรื่อง) ที่ตัวละคร (รวมถึงคนอ่าน) ได้รับนั้น จะผ่อนคลายลง เพราะเหตุการณ์ (Event) ไม่ต่อเนื่องกัน ต่างกับการจบในแบบที่หนึ่ง ความต่อเนื่องจะทำให้สถานการณ์นั้นถูกบีบรับมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวเอกนั้นจะมีทางเลือก เวลา ฯลฯ น้อยลงเหมาะสำหรับการนำเรื่องทั้งหมดเข้าสู่ไคลแมกซ์ 

ส่วนการจบในแบบที่สองนั้น (แบบผ่อนคลาย) เหมาะสำหรับการดำเนินเรื่องหลักในช่วงต้น จนถึงช่วงกลาง กับการสร้างปมปริศนาแต่ละปมขึ้นมาเสียมากกว่า แต่ตอนท้ายช่วงหนึ่งในสี่ ของเนื้อเรื่องทั้งหมดก่อนเข้าสู่จุดไคลแมกซ์นั้น ควรดำเนินเรื่องและจบตอนในแบบที่เหตุการณ์ ต่างๆต่อเนื่องกันจะดีกว่า

ฉะนั้นผมจึงได้บอกว่าจุดที่แอนเผยตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นยังไม่ใช่ จุดที่วิกฤติพอ เพราะเป็นการดำเนินเรื่องและจบตอนแบบไม่ต่อเนื่อง (กฤติพักอยู่บ้าน) อารมณ์ร่วมจึงไม่เต็มที่

แต่หากยกเอาเหตุการณ์ตอนต้นๆเรื่องบางอย่างมาไว้ตอนท้าย ขณะที่กฤติยังต้องผจญกับ ปริศนา และภาพหลอนต่างๆมากขึ้นๆจนถึงขนาดว่า เพิ่มบทให้แอนจับเมย์เป็นตัวประกัน และสะกดจิตให้ เมย์ต้องตกจากที่สูงแต่กฤติก็เข้าไปคว้าไว้ เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดกับบี จะทำให้กฤติสับสนได้มากกว่าหรือไม่หากแอนเบื่อเล่นเกมกับกฤติแล้วค่อยเผยตัวทีหลังก็ยังไม่สาย..."

"...งานของธิดารัตน์เนี่ย หากดูทั้งภาพทั้งเนื้อหา ตามความคิดผมแล้ว เรียกว่าจัดอยู่ในแนวฮาร์ดคอร์เลยก็ไม่ผิดนัก และพักหลังๆก็จะเป็นงานแนวนี้ซะมาก บุคลิกของตัวเอกเรื่องนี้ก็ดู จะติดจากซีรี่ย์หลักของคุณค่อนข้างมาก ถ้าจำไม่ผิดคอนเส็ปท์หลักในงานที่คุณต้องการนำเสนอ คือ ชีวิตของผู้หญิงในโลกด้านมืด (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงงานนี้ด้วยหรือเปล่า) สิ่งที่ผมคิดว่ายังไม่ได้ สัมผัสจากงานของคุณคือ ผู้หญิงแต่ละคนในบุคลิกที่แตกต่าง การสร้างตัวละครที่คนต้องรัก บางครั้งก็ต้องมีบทที่ทำให้คนอ่านเอาใจช่วย ตัวละครที่คนต้องเกลียด บางครั้งก็น่าจะมีบทที่ทำให้คนอ่านด่าว่า "11*0 จริงๆ" จะทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราว ไม่ว่าผู้หญิงที่คร่ำเคร่งอยู่บนโต๊ะทำงานแต่วิญญาณอยู่ RCA หรือผู้หญิงที่เหมือนนางมารร้ายทำตามใจตนเอง อาจรวมถึงกะเทยที่สวยกว่าผู้หญิง ฯลฯ การใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น คุยๆอยู่แล้วอดมองกระจกไม่ได้ ก็ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ตรงนี้น่าจะสื่อให้ชัดเจนมากขึ้น

ผมไม่ได้บอกเพื่อแนะนำบุคลิกตัวละคร แต่คิดว่าน่าจะมีการนำเสนอตัวละครหญิงแต่ละคน ที่บุคลิกแตกต่างกันแบบค่อนข้างมาก ภาพเหล่านี้อาจนำไปใช้เป็นตัวละครสมทบเพื่อสร้างสีสัน หรืออาจจะเป็นเรื่องที่มีตัวเอกคู่ (Dual Heroine) ไม่ว่าคนดีคนเลว แต่ทุกคนก็มีเหตุผลที่ทำให้ คนอ่านเห็นอีกด้านหนึ่งจนรู้สึก "เข้าใจและศรัทธา" ในสิ่งที่พวกเธอทำ จนอาจกล่าวได้ว่า พวกเธอทำในสิ่งที่ถูกต้องตามเส้นทางชีวิตของพวกเธอแต่ละคน จนคนอ่านไม่อาจตัดสินลง ไปตรงได้ว่าใครคือตัวเอกกันแน่ ผมว่าเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยากและท้าทายนะครับ..."

อานนท์ จังศิริวัฒนา


prejudice (อคติ) ,phantom limb (แขนขาปีศาจ) เป็นศัพท์ตอนที่เรียนจิตวิทยาค่ะ

prejudice เป็นช่วงเรียนพื้นฐานอารมณ์ทัศนคติของมนุษย์ อคตินี่เป็นตัวแบ่งแยก,กีดกันความเข้าใจของมนุษย์ทุก ๆ ด้านเลย และอคตินี่เองที่ทำให้เกิดความรุนแรงจนก่อเกิดสงคราม

phantom limb หลายคนอาจจะคุ้นกับ phantom pain แฟนทอม เพนคืออาการเจ็บปวดหลอนของผู้ที่สูญเสียอวัยวะค่ะ phantom limb คืออาการที่ผู้ที่สูญเสียอวัยวะยังหลอนว่ามีมือข้างนั้นอยู่หรือขาขยับได้ทั้งที่ไม่มีมือหรือขาอีกแล้ว เลยเอามาให้ชื่อภาคนี้เพราะต้องการสร้างความสงสัยว่า ตัวละครหลอนหรือมีแขนขาปีศาจนั้นจริง







ความหมายของคำว่า “Prejudice” คือ “อคติ” โดยมีทั้งอคติทางบวกและทางล

ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจกันว่า “อคติ” มักหมายเพียงแต่ในทางลบ ตัวอย่างเช่น ความไม่ชอบชาวต่างชาติของหญิงไทย หรือ นาย ก. รู้สึกไม่ชอบการกระทำทุกๆอย่างของนาย ข. เป็นต้น

ในความเป็นจริงแล้ว “อคติทางบวก” ก็มี ตัวอย่างเช่น นาย ค. รู้สึกชื่นชอบการกระทำของนาย ฉ. ในทุก ๆ เรื่อง หรือ ความยกย่องชนชาติของตนเองเกินความเป็นจริง เป็นต้น

เมื่อนำคำว่า “Prejudice” มาโยงเข้ากับเนื้อเรื่องของการ์ตูน โดยมุมองของข้าพเจ้าซึ่งมีความรู้ทางจิตวิทยามาบ้าง วิจารณ์ได้ว่าเนื้อหาของการ์ตูนเป็นเรื่องที่ดูค่อนข้างลึกลับและในตอนแรกๆ เมื่ออ่านคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องจริงๆ เหมือนที่เนื้อหาปรากฏ แต่ตอนช่วงท้ายๆ ของเรื่องดำเนินเข้าสู่คำเฉลยของสาเหตุการตายและการเชื่อมโยงสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตาย (แอน) จะเห็นได้ว่าเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่ความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ (จาก “การวางเงื่อนไข” และ “สิ่งเร้า”) ซึ่งผู้อ่านที่ไม่มีความรู้ทางจิตวิทยาอาจไม่เข้าใจในจุดนี้ แต่สิ่งที่สามารถทำให้ผู้อ่านทั่วๆไปสามารถเข้าใจได้ตามท้องเรื่อง คือ การผูกเรื่องให้ความมีอคติเข้าไปฝังรากหยั่งลึกในจิตใจของเด็กๆ ในกลุ่มเดียวกัน (กลุ่มที่หลงทางในเขาใหญ่) คือ ทั้ง โจ นิค แอน โดยจุดศูนย์รวมของอคติอยู่ที่ “บี” และจุดวิกฤตแห่งอคติ คือ “แอน” ซึ่งชี้ในเห็นว่าหากปล่อยให้ “อคติ” มีผลกันตนเองมากๆ เข้า มันก็สามารถลุกลามกลายเป็น “จิตพยาบาท” ได้อย่างง่ายดายโดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ทราบตัวเองเช่นกั

เมื่อ comment ในเรื่องการผูกเรื่องและการดำเนินเรื่อง

เนื้อเรื่องกระชับ แต่อาจจะทำให้เกิดความงุนงงสงสัยกับผู้อ่านบ้างตรงเรื่องที่ไปเกี่ยวโยงกับไสยศาสตร์และตัดฉับให้จบสิ้นลงทันที ซึ่งตรงจุดๆนี้คิดว่าไม่จำเป็นมากนักในการผูกเรื่อง แต่ก็ให้ผลดีในมุมมองของการดำเนินเรื่อง ในแง่ชวนให้ติดตามต่อและขอชื่นชมในการนำความรู้ทางจิตวิทยาหลายๆ เรื่องมาเกี่ยวโยงได้ค่อนข้างดี และยังมีเนื้อหาเรื่องอื่นๆ สอดแทรกไว้ให้คิดตามด้วยเช่น พุทธรรม ความเป็นจริงของสังคมปัจจุบัน คำพูดที่ใช้เตือนสติของตัวการ์ตูน การนำความรู้แขนงต่างๆ เข้ามาสอดแทรกทำให้การ์ตูนมีคุณค่าขึ้นมากกว่าความหมายของคำว่า “การ์ตูน”

รุ่งฤดี นิลละออ - เอกจิตวิทยา มศว.ประสานมิตร


หาไฟล์ใหญ่ไม่เจอ - -"


บทเรียนที่เพิ่มในชีวิต

คนอ่านไม่จำเป็นต้องทนอ่านงานหรือติดตามงานเขียนของใครเพียงคนเดียว
















งานเก่า ช่วงนี้ขุดงานเก่า ๆ นะคะ แหะ ๆ




งั้นเอาใหม่ค่ะ คุณพี่เมย์

หมดล็อตนี้แล้ว เจอกันใหม่คราวหน้า

พระอวยพรค่ะ
หันหน้าก็ได้ค่ะ คุณพี่...













นี่ก็หาไฟล์ไม่เจอ เอาไปไว้ไหนฟ่ะ จะเอามาอัพโฆษณาซะหน่อย แง่ม ๆ



ขโมยสเก็ตซ์เจ๊ธิมาแปะ...




ของขวัญปีใหม่สำหรับแฟนที่คิดถึงเรื่องนี้  คอยติดตามข่าวนะคะ


ก่อนจะเกาะรถไฟขบวนสุดท้ายไม่ทัน (ความจริงรู้ตั้งแต่เมื่อวานแล้วแต่ขี้เกียจง่ะ) เอาเจ๊เมย์มาทักทายให้หายคิดถึง สุขสันต์วันเลขสวยค่ะ

11.12.13



เม - ต๊าย... ได้ของขวัญวันแม่จากแฟน ๆ ด้วย
กฤติ - คนให้เห็นเธออายุเท่าแม่ไง
เม - ...
เม - (กำหมัดชกกฤติกลิ้ง)

(โปรดรอชั่วครู่...)

เม - โฮ๊ะ ๆ ๆ .... ขอบคุณนะคะ ขนมเปี๊ยะกล่องนี้จะกินไปคิดถึงคนให้ทุกคำเลย
 



เมย์ : กำลังคิดเรื่องใหม่ฉันแสดงนำเองแล้วเตะยัยกฤติเป็นตัวประกอบบ้างดีมั้ยนี่
กฤติ : จะสืบคดีอะไร โจรขโมยชุดชั้นในเหรอ
เมย์ : นั่นก็ไม่เลว ชั้นในฉันแพงนะยะวิคเตอเรียซีเคร็ททั้งนั้น
กฤติ : O[]o"
-มุมแอดมินโม้-

Thumbnail ตอนเรื่อง Prejudice มันจะเป็นภาพต่อกันเรียงขึ้นไป ตอนออกแบบแอดมินว่ามันเจ๋งสุดๆ จ๊าบมาก แจ๋ว เลิศ (ยอตัวเอง) แต่พอเอามาใช้จริง...

ประสบการณ์ครั้งนี้สอนให้รู้ว่า แอพ comico อย่าออกแบบ Thumbnail ต่อกันเด็ดขาด

กร๊ากกกกกกก....!

ไปกดอ่านกัน แอดมินยืนยันไม่ใช่แนวผี ฮา...

http://www.comico.in.th/titles/361