วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2568

Authentic Pose

 

ช่วงนี้ฉันไปเรียนงานไม้ทุกวันเลยหาเวลามาวาดรูปแทบไม่ได้ ที่ไปลงเรียนเพราะเห็นว่ามีสอนใช้ SketchUp ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการเขียนการ์ตูน แต่กลายเป็นต้องทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้จริงๆ ฉันเขียนการ์ตูนมา 25 ปีไม่ค่อยได้ทำงานใช้แรงมากเท่าไรผลก็คือเหนื่อยมากจนแทบไม่มีแรงไปทำอย่างอื่น ทำให้กว่าจะทำแฟนอาร์ตชิ้นนี้เสร็จก็ข้ามเดือน


ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างสมัยนี้กับตอนที่ฉันยังเด็กคือ ตอนฉันอยู่ชั้นประถมครูเคยให้เลือกว่าจะเรียนงานประดิษฐ์อะไรระหว่าง เย็บปักถักร้อย ร้อยมาลัย ทำดอกไม้ประดิษฐ์ และงานไม้ ตอนนั้นฉันกับเพื่อนผู้หญิงอีกคนเลือกงานไม้แต่ก็โดนครูไล่ให้ไปเลือกอย่างอื่นแล้วบอกว่า "งานไม้เป็นงานของผู้ชาย" มานึกย้อนหลังตอนนี้ ภาพเด็กผู้หญิง 2 คนถูกครูจูงออกจาห้องงานไม้ไปส่งที่ห้องเย็บปักถักร้อยท่ามกลางสายตาเพื่อนนักเรียนกับครูคนอื่นที่มองเหมือนเป็นตัวประหลาดมันชวนให้ขำปนเศร้ายังไงก็ไม่รู้


แต่ตอนที่ฉันไปลงเรียนงานไม้ครั้งนี้มีคนเรียนด้วยรวมฉันเป็น 5 คน นอกจากฉันแล้วยังมีผู้หญิงอีก 2 คนซึ่ง 2 คนนี้ก็เคยเรียนงานไม้มาก่อนและทำชิ้นงานได้ปราณีตและดูดีเสียด้วย อาจารย์ผู้สอนเองถึงจะเป็นผู้ชายแต่ก็ตั้งใจสอนเต็มที่ไม่เกี่ยงว่าลูกศิษย์จะเป็นหญิงหรือชาย ทำให้ฉันรู้สึกว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เส้นแบ่งของสิ่งที่สังคมกำหนดว่าเป็นงานของผู้ชายหรือผู้หญิงเริ่มเบาบางลง


ปล. ขอบคุณผู้อ่านที่หลังไมค์มาถามสารทุกข์สุขดิบเป็นระยะ บอกไว้ก่อนฉันยังไม่ลืม Del Vento นะโปรดสบายใจได้



The iconic Dracula (1931) starred 'Bela Lugosi' whose name is similar to 'Bella'. Coincidence? I think not. :3


I've been attending carpentry classes every day, leaving me with hardly any time to draw. I signed up for the class because I saw they taught SketchUp which I thought would be useful for my comics. However, it turned out I had to make real furniture from actual wood. I've been drawing comics for 25 years and haven't really done much physically demanding work, so as a result, I'm incredibly tired and barely have the energy for anything else. That's why it took me over a month to finish this fan art.


A clear difference between now and when I was a child is that when I was in elementary school, my teacher gave us a choice of crafts to learn: embroidery, garland making, artificial flower making, and carpentry. Back then another girl and I chose carpentry but the teacher shooed us away and told us to choose something else, saying, "Carpentry is for boys." Looking back now, the image of two little girls being led out of the carpentry room and into the embroidery room by the teacher, under the gaze of other students and teachers who looked at us like we were freaks, makes me feel a mix of amusement and sadness.


But this time, when I enrolled in the woodworking class there were 5 students including me. Besides me, there are 2 other women, and both of them had prior woodworking experience and produced exquisite, beautiful pieces. Even though the instructor is a man, he teaches with full dedication without distinguishing whether his students were male or female. This made me feel like times have changed. It's truly delightful that the lines society has drawn for what constitutes "men's work" or "women's work" are starting to blur.


P.S. Thanks to the readers who have been sending me private messages to check in periodically. I haven't forgotten about Del Vento so please rest assured.


ช่วงนี้ฉันไปเรียนงานไม้ทุกวันเลยหาเวลามาวาดรูปแทบไม่ได้ ที่ไปลงเรียนเพราะเห็นว่ามีสอนใช้ SketchUp ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการเขียนการ์ตูน แต่กลายเป็นต้องทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้จริงๆ ฉันเขียนการ์ตูนมา 25 ปีไม่ค่อยได้ทำงานใช้แรงมากเท่าไรผลก็คือเหนื่อยมากจนแทบไม่มีแรงไปทำอย่างอื่น ทำให้กว่าจะทำแฟนอาร์ตชิ้นนี้เสร็จก็ข้ามเดือน


ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างสมัยนี้กับตอนที่ฉันยังเด็กคือ ตอนฉันอยู่ชั้นประถมครูเคยให้เลือกว่าจะเรียนงานประดิษฐ์อะไรระหว่าง เย็บปักถักร้อย ร้อยมาลัย ทำดอกไม้ประดิษฐ์ และงานไม้ ตอนนั้นฉันกับเพื่อนผู้หญิงอีกคนเลือกงานไม้แต่ก็โดนครูไล่ให้ไปเลือกอย่างอื่นแล้วบอกว่า "งานไม้เป็นงานของผู้ชาย" มานึกย้อนหลังตอนนี้ ภาพเด็กผู้หญิง 2 คนถูกครูจูงออกจาห้องงานไม้ไปส่งที่ห้องเย็บปักถักร้อยท่ามกลางสายตาเพื่อนนักเรียนกับครูคนอื่นที่มองเหมือนเป็นตัวประหลาดมันชวนให้ขำปนเศร้ายังไงก็ไม่รู้


แต่ตอนที่ฉันไปลงเรียนงานไม้ครั้งนี้มีคนเรียนด้วยรวมฉันเป็น 5 คน นอกจากฉันแล้วยังมีผู้หญิงอีก 2 คนซึ่ง 2 คนนี้ก็เคยเรียนงานไม้มาก่อนและทำชิ้นงานได้ปราณีตและดูดีเสียด้วย อาจารย์ผู้สอนเองถึงจะเป็นผู้ชายแต่ก็ตั้งใจสอนเต็มที่ไม่เกี่ยงว่าลูกศิษย์จะเป็นหญิงหรือชาย ทำให้ฉันรู้สึกว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เส้นแบ่งของสิ่งที่สังคมกำหนดว่าเป็นงานของผู้ชายหรือผู้หญิงเริ่มเบาบางลง


ปล. ขอบคุณผู้อ่านที่หลังไมค์มาถามสารทุกข์สุขดิบเป็นระยะ บอกไว้ก่อนฉันยังไม่ลืม Del Vento นะโปรดสบายใจได้


-devilray-

FB and bsky - dfaxtory


#Reverse1999 #Reverse1999Fanart #Semmelweis #Horrorpedia #Blonney #Jessica #devilray #dfaxtory

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2568

Stormé DeLarverie: The Butch Lesbian Who Sparked the Stonewall Riots

Stormé DeLarverie: The Butch Lesbian Who Sparked the Stonewall Riots



On the morning of June 28, 1969, in Greenwich Village, Manhattan, New York City, an era when same-sex relationships were still condemned and viewed as mental illnesses, police raided the Stonewall Inn, a gay bar, and arrested some of the gay and lesbian patrons, and were taking them to police vehicles.

 

Stormé DeLarverie, a butch lesbian and one of those arrested, protested that her handcuffs were too tight. She resisted the officers and was struck on the head with a baton, causing her head to bleed. As everyone was disoriented by the unfolding events, DeLarverie shouted,… "Why don't you guys do something?" before being forcibly put into the police van. Suddenly, the surrounding crowd, composed of both lesbians and gay men, rose up and fought back against the police. This marked the beginning of the LGBT rights movement in America and around the world.

 

"Nobody knows who threw the first punch, but it's rumored that it was her. And she said she did it," said Lisa Cannistraci, DeLarverie's friend and owner of the lesbian bar Henrietta Hudson. Although it's not definitively known if DeLarverie was the woman who fought her way out of the police vehicle, all witnesses confirm that she was certainly one of the butch lesbians who engaged in the struggle against the police that night. 


While the events of June 28, 1969, were later dubbed the "Stonewall Riots," Stormé DeLarverie viewed the incident as an uprising.

 

"It was a rebellion, it was an uprising, it was civil disobedience - it wasn’t no damn riot," Stormé DeLarverie

 

Stormé DeLarverie was born around December 24, 1920, in New Orleans, Louisiana. Her mother was Black, and her father—her mother's employer—was White. Growing up as a biracial individual of African American and White descent, she faced bullying and discrimination from a young age.

 

Between 1955 and 1969, she was both a master of ceremonies (MC) and the only "Drag King" (a woman who dresses in masculine attire for performance) in the "Jewel Box Revue," the first racially integrated drag troupe in North America. She was a talented artist whose performances were popular, and she toured nationwide.

 


Between 1955 and 1969, she was both a master of ceremonies (MC) and the only "Drag King" (a woman who dresses in masculine attire for performance) in the "Jewel Box Revue," the first racially integrated drag troupe in North America. She was a talented artist whose performances were popular, and she toured nationwide.

 

After the Stonewall incident, she dedicated her life to protecting and caring for the LGBT community. She frequently patrolled the streets of Gay Street, especially around lesbian bars, to protect young LGBT individuals from harassment and discrimination. She held a gun license and did not hesitate to use it to protect her "children" (DeLarverie viewed LGBT youth as her own children to protect, especially during an era when LGBT individuals were targets of bullying and harassment by state officials). She also worked as a bouncer for several lesbian bars in New York City and and was a member of the Stonewall Veterans' Association—an organization of those who participated in the Stonewall riots. The New York Times once referred to her as the "guardian of lesbians in the Village."

 

Stormé DeLarverie passed away on May 24, 2014, at the age of 93. She is celebrated as a "hero of gay civil rights" and continues to inspire the LGBTQ+ movement to this day. Her life and struggles are a significant part of what makes Pride Month meaningful today.

 


On June 7, 2012, Brooklyn Pride, Inc. honored Stormé DeLarverie by screening Michelle Parkerson's film Stormé: The Lady of the Jewel Box at the Brooklyn Society for Ethical Culture. On April 24, 2014, the Brooklyn Community Pride Center honored DeLarverie alongside Edith Windsor (an LGBTQ+ rights activist who successfully championed marriage equality in the US) for her "courage and determination." She also received commendations from Letitia James, a New York City Public Advocate.

 

In June 2019, DeLarverie was one of 50 American "pioneers, trailblazers, and heroes" inducted into the National LGBTQ Wall of Honor within the Stonewall National Monument (SNM) at New York City's Stonewall Inn. The SNM is the first U.S. National Monument dedicated to LGBTQ+ rights and history, and the wall's unveiling was scheduled to coincide with the 50th anniversary of the Stonewall Riots.

 


Note: Many people mistakenly believe that two gay drag queens, Marsha P. Johnson and Sylvia Rivera, initiated the Stonewall riots and choose not to mention DeLarverie. However, Johnson herself/himself confirmed that she/he was not at the point where the confrontation began but heard the news and informed Rivera, who was sleeping on a park bench nearby. As a result, both joined the event after the riots had already started. (Later in life, Rivera identified herself as a transgender woman, while Johnson stated in an interview that she was a gay transvestite, which differs from being a transgender woman.)

 

Despite not initiating the Stonewall riots, both Johnson and Rivera were among those who continuously protested police violence for several days in front of the Stonewall Inn. They also played crucial roles in advancing the LGBTQ+ rights movement afterward, strengthening and expanding it.

 

อ้างอิง

·       https://en.wikipedia.org/wiki/Storm%C3%A9_DeLarverie

·       https://en.wikipedia.org/wiki/Stonewall_riots

·       https://www.nps.gov/people/storme-delarverie.htm

·       https://www.storme-delarverie.com/

·       https://legacyprojectchicago.org/person/storme-delarverie

·       https://web.archive.org/web/20140903230252/http://thekword.com/2014/05/28/something-like-a-super-lesbian-storme-delarverie-in-memoriam/

·       https://afterellen.com/an-interview-with-lesbian-stonewall-veteran-storm-delarverie/

·       https://www.stonewallvets.org/StormeDeLarverie.htm

·       https://www.nytimes.com/2014/05/30/nyregion/storme-delarverie-early-leader-in-the-gay-rights-movement-dies-at-93.html?_r=0

·       https://en.wikipedia.org/wiki/Marsha_P._Johnson

·       https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvia_Rivera

·       https://makinggayhistory.org/podcast/episode-11-johnson-wicker/

·       http://sfbaytimes.com/stonewall-50/

·       https://www.ebar.com/story/272833/redirect/News/News/

·       https://sdgln.com/news/2019/06/19/national-lgbtq-wall-honor-be-unveiled-historic-stonewall-inn

·       https://www.villagepreservation.org/2019/06/27/the-stonewall-national-monument/

·       https://www.history.com/articles/the-stonewall-riots

·       https://legacyprojectchicago.org/person/storme-delarverie

·       https://www.nytimes.com/2019/06/06/nyregion/stonewall-riots-nypd.html

“สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี” (Stormé DeLarverie) บุชเลสเบี้ยนผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall riots)

 “สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี (Stormé DeLarverie) บุชเลสเบี้ยนผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall riots)



เช้าวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ย่านเกรนิชวิลเลจ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก ในยุคที่คนรักเพศเดียวกันยังถูกต่อต้านและมองว่าเป็นโรคจิต ตำรวจเข้าตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมายในบาร์เกย์ “สโตนวอลล์อินน์” (Stonewall Inn) และจับกุมลูกค้าที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยนบางส่วนเพื่อนำขึ้นรถตำรวจ

 

“สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี (Stormé DeLarverie) ซึ่งเป็นบุชเลสเบี้ยนหนึ่งในผู้ที่ถูกจับกุม ได้โวยวายว่ากุญแจมือคับเกินไป เธอจึงต่อสู้ขัดขืนเจ้าหน้าที่จนถูกกระบองตีเข้าที่ศีรษะ ขณะที่ทุกคนกำลังสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เดอลาร์เวอรีได้ตะโกนขึ้นว่า ทำไมพวกนายถึงไม่ทำอะไรสักอย่าง?” ("Why don't you guys do something?") ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะโยนเธอเข้าไปในรถ ทันใดนั้น ฝูงชนที่อยู่โดยรอบ ซึ่งมีทั้งเลสเบี้ยนและเกย์ ต่างก็ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับตำรวจ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของขบวนการเรียกร้องสิทธิให้กับคนรักเพศเดียวกันหรือชาว LGBT ในอเมริกาและทั่วโลก

 

“ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนออกหมัดคนแรก แต่เขาลือกันว่าเป็นเธอ และเธอนั่นแหละที่บอกว่าตัวเองเป็นคนทำ” ลิซ่า แคนนิสเทรซี (Lisa Cannistraci) เพื่อนของเดอลาร์เวอรี เจ้าของบาร์เลสฯ (Henrietta Hudson) กล่าว แม้จะไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเดอลาร์เวอรีคือผู้หญิงคนที่ต่อสู้จนหลบหนีออกจากรถตำรวจได้สำเร็จหรือไม่ แต่พยานทุกคนต่างยืนยันว่าเธอคือหนึ่งในบุชเลสเบี้ยนกลุ่มที่เข้าร่วมต่อสู้กับตำรวจในเหตุการณ์คืนนั้นอย่างแน่นอน

 


แม้เหตุการณ์วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ในภายหลังจะถูกเรียกว่า “เหตุจลาจลสโตนวอลล์” (Stonewall riots) แต่ สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี กลับมองเหตุการณ์นั้นว่าเป็นการลุกฮือ (uprising)

 

“มันคือการปฏิวัติ มันคือการลุกฮือ มันคืออารยขัดขืน มันไม่ใช่การจลาจล” – สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี

 

สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี เกิดประมาณวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา เธอมีแม่เป็นคนผิวดำ และพ่อซึ่งเป็นนายจ้างของแม่เป็นคนผิวขาว การที่เธอต้องเติบโตในฐานะลูกครึ่งเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันและคอเคเซียน ทำให้เธอต้องเผชิญกับการกลั่นแกล้งและการเลือกปฏิบัติมาตั้งแต่เด็ก

 

ในช่วงปี 1955 ถึง 1969 เธอเป็นทั้งพิธีกรและ "แดร็กคิงก์" (Drag King – หญิงที่แต่งตัวข้ามเพศ) เพียงคนเดียวในคณะแสดง "จูเวิลบ็อกซ์รีวิว" (Jewel Box Revue) ซึ่งเป็นคณะแสดงแดร็กคณะแรกในอเมริกาเหนือที่มีนักแสดงทั้งผิวดำและผิวขาวรวมอยู่ในคณะเดียวกัน เธอเป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ การแสดงของเธอได้รับความนิยมและเธอเองก็เคยเดินสายเปิดการแสดงมาแล้วทั่วประเทศ

 


หลังเหตุการณ์ Stonewall เธออุทิศชีวิตให้กับการปกป้องและดูแลชุมชน LGBT เธอมักจะเดินลาดตระเวนตามท้องถนนในย่านเกย์ (Gay Street) โดยเฉพาะบริเวณบาร์เลสเบี้ยน เพื่อปกป้องคนหนุ่มสาว เธอมีใบอนุญาตพกปืนและไม่ลังเลที่จะใช้มันเพื่อปกป้อง "ลูก ๆ" ของเธอ (เดอลาร์เวอรีมองเยาวชน LGBT เป็นเหมือนลูกหลานที่ต้องปกป้อง โดยเฉพาะในยุคที่ชาว LGBT ยังตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งรังแกจากเจ้าหน้าที่รัฐ) เธอยังเป็นบาวเซอร์ (bouncer – ผู้ดูแลร้าน) ให้กับบาร์เลสเบี้ยนหลายแห่งในนิวยอร์กซิตี้และยังเป็นสมาชิกของสมาคมทหารผ่านศึกสโตนวอลล์ (Stonewall Veterans' Association – สมาคมของผู้ที่เคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์) The New York Times เคยกล่าวถึงเธอว่าเป็นเหมือน “ผู้พิทักษ์ของเลสเบี้ยนในชุมชนหมู่บ้าน” (guardian of lesbians in the Village)

 

สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ด้วยวัย 93 ปี เธอได้รับการยกย่องให้เป็น "วีรสตรีแห่งสิทธิพลเมืองเกย์" และเป็นแรงบันดาลใจให้กับขบวนการ LGBT มาจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตและการต่อสู้ของเธอเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Pride Month มีความหมายอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 


เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) Brooklyn Pride, Inc. ได้เชิดชูเกียรติของ สตอร์มี่ เดอลาร์เวอรี โดยการฉายภาพยนตร์เรื่อง Stormé: The Lady of the Jewel Box ของ Michelle Parkerson ที่ Brooklyn Society for Ethical Culture

 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ทาง Brooklyn Community Pride Center ได้ยกย่องเดอลาร์เวอรีเทียบเคียงกับเอดิธ วินด์เซอร์ (Edith Windsor – นักเคลื่อนไหวสิทธิ LGBT ผู้ผลักดันสมรสเท่าเทียมในอเมริกาจนสำเร็จ) สำหรับ "ความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของเธอ" และเธอก็ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก Letitia James นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิประชาชนแห่งนิวยอร์กซิตี้

 

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) เดอลาร์เวอรีเป็นหนึ่งใน "ผู้บุกเบิก ผู้บุกเบิกทาง และวีรบุรุษ" ชาวอเมริกันจำนวน 50 คน ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่ National LGBTQ Wall of Honor ภายใน Stonewall National Monument (SNM) ในสโตนวอลล์อินน์ของนิวยอร์ก SNM ถือเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติแห่งแรกของสหรัฐฯ ที่อุทิศให้กับสิทธิและประวัติศาสตร์ของกลุ่ม LGBTQ และการเปิดตัวกำแพงดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงครบรอบ 50 ปีของเหตุจลาจลสโตนวอลล์

 


หมายเหตุ:

มีหลายคนเข้าใจว่าเกย์แดร็กควีน (Drag Queen – ชายที่แต่งตัวข้ามเพศ) 2 คน คือ “มาช่า พี.จอห์นสัน” (Marsha P. Johnson) และ “ซิลเวีย ริเวร่า” (Sylvia Rivera) คือผู้เริ่มเหตุจลาจลสโตนวอลล์และเลือกที่จะไม่กล่าวถึงเดอลาร์เวอรี แต่ข้อเท็จจริงคือ จอห์นสันเองเคยยืนยันว่าตนไม่ได้อยู่ตรงจุดที่การปะทะเริ่มต้นขึ้นแต่ได้ยินข่าวเลยนำไปบอกริเวร่าที่กำลังหลับอยู่บนม้านั่งในสวนสาธารณะใกล้ๆ ทำให้ทั้งคู่ได้มาร่วมในเหตุการณ์หลังจากที่การจลาจลเริ่มขึ้นไปแล้ว (ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ริเวร่าได้ระบุอัตลักษณ์ของตนว่าเป็นหญิงข้ามเพศ (Transgender) ในขณะที่จอห์นสันเคยให้สัมภาษณ์ระบุว่าตนคือผู้ชายแต่งหญิงที่เป็นเกย์ (transvestite) ซึ่งแตกต่างจากการเป็นหญิงข้ามเพศ)

 

แต่แม้ทั้งคู่จะไม่ใช่ผู้ริเริ่มเหตุจลาจลสโตนวอลล์แต่ทั้งคู่ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมการประท้วงการใช้ความรุนแรงของตำรวจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันที่หน้าสโตนวอลล์อินน์ และทั้งคู่ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการสิทธิ LGBT หลังจากนั้นซึ่งเป็นการสานต่อและขยายผลให้ขบวนการนี้มีความแข็งแกร่งและครอบคลุมยิ่งขึ้น