วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทวิเคราะห์เรื่อง Del Vento โดยคุณ Panthep Pattong



แอดมินขอเรียบเรียงบทวิเคราะห์เรื่อง Del Vento โดยคุณ Panthep Pattong มาไว้ตรงนี้ด้วยค่ะ

================================

การ์ตูน DEL VENTO อย่างที่ทราบกันว่า ตัวละครหลักคือมิสเตอร์รี้ด ( หรือลอเร็ตโต้ ) และมีนางเอกถึง 2 คน คือ อแมนด้ากับไปรมา ตอนนี้ไปรมายังคงไม่มีบทบาทอะไรมากนัก ดูเหมือนจะเป็นคู่กัดกับตัวเอกของเรื่องซะมากกว่า 

มิสเตอร์รี้ดเองแม้ตัวเองเป็นผู้หญิงแต่เกิดมาท่ามกลางสังคมของผู้ชายที่เป็นองค์กรมาเฟียอเมริกาเชื้อสายอิตาเลี่ยน ทำให้ตัวเอกต้องปรับตัวและพยายามทำตัวเย็นชาและอำมหิตตามสไตล์มาเฟีย อีกทั้งต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองว่า มีความสามารถเท่าเทียมกับผู้ชายทั้งหลาย

สำหรับใน chapter 34 นั้นก็ได้มีโอกาสเห็นมิสเตอร์รี้ดแสดงความอ่อนโยนในแบบฉบับของตัวเองออกมาด้วยการซื้อของขวัญมาฝากให้กับเก่ง ซึ่งตอนนั้นอายุ 13 ปี เพราะเข้าใจความรู้สึกของคนที่ขาดพ่อขาดแม่ จนเก่งเองกลายเป็นหนึ่งในคนสนิทในกลุ่มของตัวเอกของเรา ด้วยเพราะเคารพในตัวของรี้ด ( แม้จะผิดประเภทไปบ้างก็ตาม เพราะตัวเอกของเราเกิดมาในสังคมของคนอเมริกัน ที่นิยมเรื่องของเบสบอลมากกว่าฟุตบอล )

......

สำหรับอแมนด้ากับไปรมาในอีกทางหนึ่งก็คือ ตัวแทนด้านความเป็นหญิงของมิสเตอร์รี้ดที่ไม่อาจแสดงออกมาได้ โดยอแมนด้าเป็นตัวแทนของความสุภาพอ่อนหวาน ส่วนไปรมาเป็นตัวแทนของความเชื่อมั่นในตัวเอง และสองสิ่งที่ทั้งสองนางเอกมีความเหมือนกันก็คือ ความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นผู้หญิงและความจริงใจ ไม่เสเเสร้ง

มิสเตอร์รี้ดมักมาหาอแมนด้าทุกครั้งภายหลังจากที่เสร็จเรื่องหนักใจเห็นได้จากใน Chapter 7-9 ซึ่งเหมือนอแมนด้าเป็นที่พึ่งทางใจให้กับรี้ด เพราะเขาเองรู้ตัวดีว่า ตนเองไม่อาจออกมาจากวงการนี้ได้ตลอดชีวิต และอเเมนด้านก็มีความเข้าใจในตัวของเขา

......

ส่วนไปรมาก็เป็นคนที่ทำให้ชิวิตประจำวันของตัวเอกเราดูมีความเป็นธรรมดาขึ้นมาบ้าง และเป็นผู้หญิงคนเดียวในเรื่องที่กล้ามีปากมีเสียงกับตัวเอกของเรื่อง จนดูเป็นเหมือนคู่กัดมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่มิสเตอร์รี้ดไม่อาจแสดงออกมาได้ต่อหน้าผู้อื่น ต้องเเสดงท่าทางเย็นชาและอำมหิตออกมาแทน

สำหรับไปรมาเองนั้น เธอเคยอยู่ที่นี่มาก่อน แต่เพราะพ่อแม่ของไปรมาไม่ต้องการให้ลูกตัวเองรู้ว่า เป็นพวกผีพนัน เลยตัดสินใจส่งไปรมาไปอยู่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เรียนมัธยมฯ จนกระทั่งจบปริญญาตรี ถึงขั้นว่า ให้ไปรมาหางานทำที่กรุงเทพฯ ไม่ต้องกลับมาที่เดิมอีก เพราะว่าคนทั้งสองไปก่อเรื่องไว้มากมาย หากกลับมาก็ต้องถูกตามทวงหนี้ หรือต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขเพื่อใช้หนี้แทนพวกตนไป แต่เหมือนฟ้ากลั่นแกล้งไปรมาดันกลับมา และรู้ความจริงเกี่ยวกับที่บ้านพ่อแม่ของตนถูกยึด ก่อนจะระเห็จหางานทำ จนกระทั่งมาพบกับกลุ่มของตัวเอกและรู้ว่าพ่อแม่ของเธอเป็นพวกผีพนัน

แม้ไปรมาจะเป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ถึงขั้นกล้ามีปากมีเสียงกับตัวเอกของเรา ( แต่ตัวเอกกลับใช้วิธีการนิ่งสยบเคลื่อนไหวแทน ) แต่ใน Chapter 30-31 ไปรมาก็แสดงความหวาดกลัวในแบบผู้หญิงออกมาให้เห็น เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเลวร้ายสุดๆ แต่ไปรมาก็เป็นหญิงสาวที่มีความอดทนสูงเพราะสามารถทนต่อการรักษาอาการติดยาด้วยวิธีการหักดิบ จนกระทั่งหายเป็นปกติได้ในเวลาไม่ถึงเดือน ทั้งยังกล้ามีปากมีเสียงกับตัวเอกของเราได้เหมือนปกติ

......

หากติดตามอ่านกันมา คงทราบแล้วว่า ไวท์ควีน ภรรยาของไวท์แมน เจ้าพ่อรัสเซียประจำประเทศไทย นิสัยตามสไตล์ของมาเฟียรัสเซียคือ โหดชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน หากคิดจะหยามกัน และอย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ Chapter 1 ว่า ผู้หญิงในวงการนี้ถ้าหากไม่ใช่ภรรยาของเจ้าพ่อแล้ว ก็ต้องเป็นโสเภณี ซึ่งไวท์ควีนมีทั้งสองอย่างเลย โดยถือกำเนิดขึ้นมาจากโสเภณีในซ่องที่รัสเซียก่อน ก่อนที่จะไต่เต้ายกระดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนในที่สุดได้เป็นภรรยาของไวท์แมน โดยมีผู้ติดตาม ( ซึ่งก็เป็นผู้หญิง ) ว่า โดมินิค และดูเหมือนก็เป็นคู่ขากันด้วย

สาเหตุที่รี้ดค่อนข้างรังเกียจก็เพราะเธอเป็นตัวแทนด้านลบที่พยายามยั่วยุตัวเอกของเราให้เดินตามหนทางเดิมของมาเฟีย ขณะที่รี้ดพยายามจะพิสูจน์ตัวเอง แม้จะต้องปกปิดความเป็นหญิงไว้ก็ตาม และอดีตเบื้องหลังของตัวเขาเอง แม้ไวท์ควีนจะพยายามอ่อยยั่วยุยังไงก็ตาม แต่ที่ต้องคบหาก็เพราะต้องการรักษาความสัมพันธ์กับพวกรัสเซียไว้ เนื่องจากรู้กิตติศัพท์ของพวกรัสเซียดี

================================
ขอขอบคุณคุณ ‎Panthep Pattong

เครดิต -
https://www.facebook.com/dfaxtory/posts/1763711943646667
https://www.facebook.com/dfaxtory/posts/1771246556226539

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น